สาระน่าสนใจ

5 เทรนด์ไอทีที่น่าจับตามองในปี2023

วันนี้จะพาทุกคนมารู้จักกับเทรนด์ไอทีที่น่าจับตามองในปีนี้กัน! เนื่องจากปีนี้เป็น "ปีแห่งการตั้งตัวและกระโจนไปข้างหน้า" ซึ่งอาจจะถือเป็นอีกคำนิยามหนึ่งขององค์กรในปี 2023 เพราะเศรษฐกิจและสังคมกลับสู่ความเป็นปกติอย่างสมบูรณ์(มีความไหลลื่นของเศรษฐกิจอีกครั้ง หลังจากสถานการณืCOVID-19)

1.การก้าวกระโดดของปัญญาประดิษฐ์ (AI) 


ในไอทีเทรนด์ปี 2023 ที่ไม่ควรมองข้ามเลยคือปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ที่เป็นที่รู้จักมานานมากๆแล้ว ความน่าสนใจอยู่ที่ความสามารถในการประมวลผลที่ใช้เวลานานและความแม่นยำ การพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของผลลัพธ์เป็นความท้าทาย แต่ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์ก้าวไปไกลมากๆแล้วในโลกของเรา

ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัดเลยคือในปี 2022 และเริ่มแรงในปี 2023 คือ ChatGPT ซึ่งเป็น AI ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด ถึงขั้นทำให้ผู้พัฒนาต้องขยายเซิร์ฟเวอร์เพื่อรองรับการใช้งานจำนวนมาก และการใช้งานที่มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนี้ก็มาจากประสิทธิภาพการทำงานของ AI ที่ทำเอาหลายคนอึ้งไปตาม ๆ กัน ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่าอนาคตอาจมีความเปลี่ยนแปลงที่มากมายในภาคแรงงาน

รูปภาพจาก HelloMagazine

แม้ว่า ChatGPT จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ที่มีบทบาทสำคัญในสังคม ในด้านธุรกิจการใช้งาน AI ก็ยังคงเป็นแนวโน้มอันต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น "Stitch Fix" ที่นำ AI มาใช้ในการแนะนำเสื้อผ้าตามความต้องการของลูกค้า ในประเทศไทย บริษัทโทรคมนาคมชั้นนำเริ่มใช้ AI เพื่อปรับปรุงเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพและบริการลูกค้าที่ดีขึ้น ถ้าความสำเร็จยังคงมาถึงในปี 2023 นี้ น่าจะเป็นเครื่องมือที่เติบโตและมีบทบาทสำคัญในวงการไอทีอีกมากขึ้น ทำให้ในปีนี้(2023)เป็นอีกปีที่เทรนด์ไอทีเรื่องปัญญาประดิษฐ์จะได้พิสูจน์ตัวเองแล้วยิ่งมีบทบาทมากขึ้น

2.เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Technology)

ในขณะที่ทุก ๆ เทคโนโลยีกำลังก้าวล้ำไปข้างหน้า อีกหนึ่งพื้นฐานของแนวคิดที่จะพาเทคโนโลยีต่าง ๆ ประสบความสำเร็จคือ เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน 

ในช่วงปีที่ผ่านมา โลกได้พบกับปัญหาการคลาดแคลนชิป (Computer Chips Shortage) ซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของการประมวลผลของทุกเทคโนโลยี และในทุกอุตสาหกรรม นี่คือเรื่องของการซัพพลายองค์ประกอบให้กับหลาย ๆ องค์กรที่ดำเนินธุรกิจอยู่ เพื่อรักษาความยั่งยืน องค์กรต้องปรับตัวและหาแผนสำรองสำหรับเรื่องเหล่านี้ในอนาคต 

รูปภาพจาก mdpi

สภาพแวดล้อมและความยั่งยืนของศูนย์ข้อมูล ตัวเลขจาก IDC AP Research รายงานถึงความสำคัญของศูนย์ข้อมูล (Data Center) ในเกี่ยวกับความยั่งยืนและผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม สรุปได้ว่า ศูนย์ข้อมูลทั่วโลกเป็นผู้ใช้พลังงานไฟฟ้ามากถึง 2% ซึ่งทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกหรือ "Carbon Footprint" ในอัตราสูงถึง 6%-7% ของปริมาณที่ปล่อยออกมา นี่เป็นสถานการณ์ที่คาดว่าจะยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเนื่องจากการใช้พลังงานเพื่อให้บริการออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก

ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการควบคุมก๊าซเรือนกระจกหลายประเภทที่ปล่อยออกมาจากศูนย์ข้อมูล ยังไม่มีเทคโนโลยีหรือมาตรฐานการวัดที่เพียงพอที่จะเป็นสากลทั่วโลก เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากที่จะสืบทอดแก่ผู้ใช้งานทั่วไป

ในทางกลับกัน บริษัทที่มุ่งหวังสู่ความยั่งยืนและใส่ใจถึงสภาพแวดล้อม ถ้าไม่สามารถวัดผลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ เป็นการพบกับความเสียเปรียบที่อาจเกิดขึ้น ในทางตรงกันข้าม องค์กรที่มีเทคโนโลยีการวัดผลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์กรอื่น ๆ สามารถปรับกลยุทธ์ในทิศทางของความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security)

จนถึงปี 2022 เทคโนโลยีหลายๆ อย่างได้รวมกันเป็นระบบนิเวศทางดิจิทัล ซึ่งการโจมตีจากกลุ่มมิจฉาชีพกล่าวถึงความปลอดภัยข้อมูลในสถาบันสำคัญ เช่น ธนาคาร รัฐบาล และธุรกิจเอกชนชั้นนำ สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบในการปลอมวัคซีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสียหายถึง 2,600 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 9,000 ล้านบาท) เรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์กลายเป็นหัวข้อที่สำคัญ

แนะนำให้พนักงานทุกระดับเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ ความรู้เหล่านี้สามารถป้องกันช่องโหว่ความปลอดภัยที่อาจทำให้บริษัทรับความเสี่ยง นโยบาย "Security Zero Trust" จากสหรัฐอเมริกา เป็นแรงจูงใจในการปรับมาตรฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์ในปี 2024 ที่จะกระตุ้นองค์กรทั่วโลกปฏิบัติตาม เพื่อให้ธุรกิจเชื่อมโยงกันอย่างปลอดภัย ส่งผลกระทบต่อองค์กรในประเทศไทยด้วย

ภาพจาก ThaiPBS

 อีกหนึ่งเรื่องที่เกี่ยวข้องกันคือความก้าวหน้าของเทคโนโลยี “ควอนตัมคอมพิวเตอร์” ซึ่งหากอธิบายให้เข้าใจอย่างง่ายคือ การประมวลผลของคอมพิวเตอร์รูปแบบใหม่ที่ทำให้ความเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์เร็วขึ้นได้ถึง ล้านล้านเท่า เมื่อเทียบกับการประมวลผลแบบปัจจุบัน ซึ่งหลายองค์กรกำลังพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์อย่างจริงจัง สิ่งนี้ดูเหมือนเรื่องไกลตัว แต่ไอทีเทรนด์นี้เอง ที่สามารถประมวลผลได้เร็วขึ้นย่อมทำให้การแกะรหัสหรือ แฮกรหัสผ่าน ที่ต้องใช้เวลานาน ๆ สั้นลงได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งกระทบต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างแน่นอน

4.Robot และ Automation 🤖

ความสามารถของซอฟต์แวร์ที่ผนวกรวมกับฮาร์ดแวร์ ได้สร้างช่องทางที่ชัดเจนในการพัฒนาความสามารถของหุ่นยนต์ให้มีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้นเรื่อย ๆ และเรื่อย ๆ มันได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างก้าวกระโดด เช่น หุ่นยนต์ที่รับบทบาทในการต้อนรับผู้เข้ามาที่สถานที่ หรือหุ่นยนต์ที่สามารถจัดส่งสินค้าได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์ชงกาแฟ หรือหุ่นยนต์ในหลายสาขาอื่น ๆ ซึ่งหุ่นยนต์เหล่านี้สามารถทำงานซ้ำ ๆ ได้อย่างง่ายดายและเกิดความผิดพลาดน้อยมาก ๆ หนึ่งในบริษัทชื่อดังระดับโลกอย่าง Tesla ก็ไม่ยกเว้น ซึ่งทาง Elon Musk ซีอีโอของ Tesla ได้เปิดเผยถึงหุ่นยนต์ต้นแบบสองตัวในงาน Tesla AI Day ในช่วงเดือนกันยายนปี 2022 และกล่าวอย่างชัดเจนว่าจะมีการเปิดให้บริการสั่งจองในอีกไม่ช้า และแน่นอนว่าในอนาคตอันใกล้นี้ หุ่นยนต์เหล่านี้อาจจะกลายเป็นเพื่อนร่วมงานที่ช่วยในงานบ้านหลากหลายอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รูปภาพจาก HelloEducation

ในประเทศไทยเอง เรื่องของไอทีเทรนด์ 2023 เกี่ยวกับหุ่นยนต์นี้ก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย เพราะในโรงงานและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็มีการปรับใช้ให้กลายเป็น Smart Factory งานต่าง ๆ ที่อุปกรณ์ทำแบบอัตโนมัติได้ก็กำลังถูกเปลี่ยนเป็นหุ่นยนต์ทำแทนมนุษย์ หรือแม้แต่ในอุตสาหกรรมค้าปลีกที่เห็นชัด คือ กาแฟ Amazon ที่ใช้หุ่นยนต์มาชงกาแฟให้กับบรรดาเหล่าคอกาแฟดื่มกันพร้อมกับโชว์ความสามารถการเป็นบาริสต้าโดยไม่ต้องง้อมนุษย์ก็มีออกมาให้เห็นแล้ว หรือว่าจะเป็นMKที่มีหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร หากผลลัพธ์เป็นไปในเชิงบวกเรื่อย ๆ ไอทีเทรนด์นี้ก็อาจขยายตัวมากขึ้นในปี 2023 นี้เป็นแน่

5.Digital Transformation (DX)

รูปภาพจาก aigen

Teachme Biz ได้เคยนำเสนอเรื่อง Digital Transformation ตั้งแต่ช่วงเริ่มระบาดของโควิด-19 และในปี 2023 นี้เรื่องนี้กลับมามีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เนื่องจากหลาย ๆ องค์กรได้รับรู้ถึงความสำคัญและประโยชน์ที่ Digital Transformation สามารถนำมาให้กับธุรกิจได้อย่างแท้จริง แนวโน้มด้านไอทีในปีนี้ก็จะมีความเข้มข้นมากขึ้น เนื่องจากหลาย ๆ องค์กรเห็นด้วยว่าการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลนั้นมีประโยชน์มากๆ ซึ่งการ Digital Transformation นี้จะนำองค์กรจากสภาวะเดิมๆ มาสู่สภาวะใหม่ๆ ในโลกดิจิทัล โดยการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และครอบคลุมทั้งสามมิติของการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล

  1. ด้านประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับ ทำให้ลูกค้าพอใจในสินค้าและบริการมากขึ้น
  2. ด้านกระบวนการทางธุรกิจ กระบวนการต่าง ๆ ถูกทำได้คล่องตัวขึ้นเพื่อให้ธุรกิจขององค์กรเดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ด้านประสิทธิภาพและความสัมพันธ์ของพนักงาน พนักงานเต็มใจและมีทักษะเพียงพอที่จะสร้างคุณค่าที่ดียิ่งขึ้น

ข้อสุดท้ายนี้เองที่หลายองค์กรมองข้าม สิ่งที่คอยเชื่อมประสานระหว่างองค์กร(แบรนด์) กับ ลูกค้า ก็คือ “พนักงาน” ทรัพยากรสำคัญขององค์กร หลังจากผ่านวิกฤตสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 หลายองค์กรได้ลดจำนวนพนักงานที่ถือเป็นต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) อย่างหนึ่ง และหันหน้าเข้าสู่การเป็นองค์กร Digital Transformation ให้มากขึ้น หนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญคือ Automation ที่สามารถทำงานง่าย ๆ แทนมนุษย์ได้หลายอย่าง ทั้งยังมีความถูกต้องแม่นยำอีกด้วย องค์กรจึงต้องหาจุดสมดุลระหว่างการก้าวไปข้างหน้าบน Digital Transformation และคงพนักงานที่นับเป็นทรัพยากรที่ล้ำค่าของบริษัทไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งทำให้องค์กรต่าง ๆ ควรใส่ใจกับสิ่งนี้

ที่มา : techme-biz